รักษารากฟัน | ทันตกรรมรากเทียม | Denta-joy

การรักษารากฟัน

รากฟันสำคัญอย่างไร?

รากฟันเป็นส่วนที่ช่วยยึดตัวฟันกับขากรรไกร ในฟันแต่ละซี่จะประกอบไปด้วย โพรงประสาทฟัน (Pulp chamber) จะเป็นส่วนที่ส่งสารอาหารต่างๆ และ เป็นส่วนที่รับสัญญาณ เช่น บางกรณีที่เราดื่มน้ำที่เย็นมากๆ แล้วรู้สึกเสียวฟัน โพรงประสาทจะมีส่วนที่เป็นโพรงท่อเล็กๆ ไปสู่ปลายรากฟัน ในฟันคนเราหนึ่งซี่มีคลองรากฟันไม่เกินสี่

เมื่อโพรงประสาทฟันหรือคลองรากฟันเกิดการติดเชื้อ, เสียหาย หรือถูกทำลายจนตายไป ถ้าเราไม่รีบรักษาโดยนำเนื้อเยื้อภายในที่เสียหายหรือติดเชื้อออกให้หมด จะทำฟันซี่นั้นตายไป อาการที่โพรงรากฟันเกิดการติดเชื้อ (pulpitis) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เราปวดฟัน เราต้องรีบพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูว่าจะถอนฟันหรือจะรักษารากฟันเพื่อเก็บฟันซี่นี่เอาไว้

รักษารากฟัน เป็นการนำส่วนที่ติดเชื้อในโพรงประสาทฟันและในคลองรากฟันออกไป และทำให้ปราศจากเชื้อเพื่อเก็บฟันซี่นั้นเอาไว้ โดยจะใช้วัสดุอุดคลองรากฟันทำการอุด เพื่อทำให้ปราศจากเชื้อ พบบ่อยในคนไข้ที่ฟันผุมาก

อะไรคือสัญญาณที่บอกว่าให้ระวัง?

  • รู้สึกเสียวฟันมากในเวลาทานของร้อนและของเย็น
  • รู้สึกปวดฟัน
  • ปวดฟันระหว่างกัดฟันและเคี้ยวอาหาร
  • เวลากัดฟันหรือเคี้ยวอาหารแล้วรู้สึกตึงๆ
  • ฟันผุมาก
  • ฟันได้รับการกระทบกระแทก จนทำให้ฟันแตกหัก จนถึงโพรงประสาทฟัน
  • ฟันมีสีเปลี่ยนไปจากเดิม
  • เป็นโรคเหงือกอยู่แล้ว
  • มีหลายกรณีที่โพรงประสาทฟัน หรือคลองรากฟันถูกทำลาย บางครั้งก็ไม่เกิดอาการบ่งบอก ทันตแพทย์ต้องทำการเอกซเรย์ฟันเพื่อดู

ขั้นตอนการรักษารากฟัน

การรักษารากฟันเราจะทำร่วมกับการฉีดยาชา จะใช้แผ่นยางบางๆ เพื่อแยกฟัน (Rubber dam) ที่มีปัญหาอออกจากฟันอื่น หลังจากนั้นทันตแพทย์จะเอาฟันผุโดยเอาส่วนที่เสียหายออก จนถึงส่วนโพรงประสาทฟัน การทำแบบนี้เพื่อลดความดันในตัวฟันที่ทำให้เราเรารู้สึกปวดฟันออก

 

ทันตแพทย์จะตรวจวัดความยาวของคลองรากฟันโดยการถ่ายเอกซเรย์แบบเป็นชุดๆ แล้วจะใช้ขดลวดขนาดเล็กเพื่อรักษารากฟัน ที่เรียกว่า file ทำความสะอาดภายในคลองรากฟันเพื่อขจัดเนื้อเยื่อที่มีปัญหาและแบคทีเรียออกไปโดยใช้น้ำเกลือเป็นตัวชะล้างจนหมด หลังจากนั้นจะใช้วัสดุอุดคลองรากฟัน (gutta percha) ฟันจะไม่ถูกอุดอย่างถาวรจนกว่าจะขจัดจนปลอดเชื้อในโพรงประสาทและคลองรากฟัน หลังจากปราศจากเชื้อแล้วก็จะทำการอุดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้ออีก

ฟันที่รับการรักษาจะอยู่ได้นานเท่าใด?

ฟันที่ได้รับการรักษาหรือฟื้นฟูสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตถ้ามีการดูแลอย่างเหมาะสม เพราะฟันผุยังสามารถเกิดขึ้นได้อีกในฟันที่รับการรักษาแล้ว สุขอนามัยของปากและฟันที่ดีตลอดจนการพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต

ข้อควรปฏิบัติระหว่างการรักษารากฟัน

คำถามที่พบบ่อย: การรักษารากฟัน

Q: รักษารากฟันคืออะไร

A: คือการกำจัดเส้นประสาทฟัน และเนื้อเยื่อในโพรงฟันที่ติดเชื้อออก เพื่อให้หายจากอาการปวดฟัน และกำจัดสาเหตุของหนองปลายรากฟันออกไป

 

Q: อะไรคือสัญญาณที่จะต้องได้รับการรักษารากฟัน

A: สัญญาณเหล่านี้ประกอบไปด้วย

  • อาการปวดฟันที่รุนแรงอันเนื่องมาจากแรงกดที่เกิดจากการบดเคี้ยว
  • อาการเสียวฟันหรือปวดฟันที่ยาวนานกว่าปกติเมื่อดื่ม หรือ รับประทานอาหารที่เย็นหรือร้อนจัด
  • การเปลี่ยนสี(ดำขึ้น)ของฟัน
  • อาการบวม หรือ อ่อนตัวลงของเหงือกบริเวณใกล้เคียง
  • อาการปูดบวมของเหงือกที่ไม่หายขาด หรือกลับมาเป็นอีกบ่อยๆ

 

Q: ฟันที่รับการรักษาจะอยู่ได้นานเท่าไหร่

A: ฟันที่ได้รับการรักษาหรือฟื้นฟูสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตถ้ามีการดูแลอย่างเหมาะสม

Before After
Play Video

GETTING STARTED

ขั้นตอนที่ 1

พบทันตแพทย์ เพื่อรับคำปรึกษา (อาจทำการรักษาครั้ง ในขั้นตอนนี้)

ขั้นตอนที่ 2

ทำการรักษาต่อเนื่อง

บทความที่เกี่ยวข้อง